บริการทันตกรรม

ทำไมต้องใส่สะพานฟัน

สะพานฟัน ทันตกรรมตัวช่วยเสริมความแข็งแรง

ทำไมต้องใส่สะพานฟัน ?

การใส่สะพานฟันมีจุดประสงค์เพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป ซึ่งการสูญเสียฟันนั้นถือเป็นปัญหาช่องปากที่ค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากฟันทุกซี่มีการทำงานที่สัมพันธ์กัน การสูญเสียฟันแม้เพียงซี่เดียวอาจส่งผลให้ฟันที่อยู่ใกล้เคียงเอียงหรือล้ม ทำให้ยากต่อการทำความสะอาดและอาจเกิดฟันผุตามมา ส่วนฟันที่อยู่ตรงข้ามอาจถูกฟันซี่อื่นดันขึ้นหรือเบียดลงมายังบริเวณช่องว่าง ส่งผลกระทบต่อการกัด รวมทั้งอาจทำให้เกิดแรงกดที่ฟันและกรามมากขึ้นจนมีอาการเจ็บปวด นอกจากนี้ การมีช่องว่างระหว่างฟันอาจส่งผลให้กระดูกขากรรไกรที่มีหน้าที่รองรับช่องปากและโหนกแก้มมีรูปร่างผิดปกติจนทำให้รูปหน้าเปลี่ยนแปลงไปได้เช่นกัน

สะพานฟันคืออะไร ?

สะพานฟัน คือ ฟันปลอมติดแน่นที่ทดแทนฟันที่หายไปโดยมีการกรอฟันธรรมชาติข้างเคียงเพื่อเอาไว้ยึดติดกัน ซึ่งสะพานฟันมีราคาและคุณภาพที่เทียบเท่ากับการทำการครอบฟันเพียงแต่มีจำนวนซี่มากกว่า สำหรับประเภททั่วไปที่นิยมใช้ในประเทศไทยมีอยู่ 3 ชนิด คือ

  • สะพานฟันแบบธรรมดา ซึ่งจะใช้วิธีครอบฟัน โดยจะเป็นการช่วยติดสะพานฟันให้เข้ากับฟันซี่ใกล้เคียง โดยมักผลิตจากเซรามิกล้วนหรือเซรามิกประเภทพอร์ซเลนผสมกับโลหะ
  • สะพานฟันแบบมีหลักยึดข้างเดียว เป็นสะพานฟันที่ใช้วิธียึดฟันเทียมเข้ากับซี่ฟันจริงเพียงข้างเดียว นิยมใช้ในกรณีฟันซี่ในสุดหลุดไป
  • สะพานฟันที่ยึดด้วยวัสดุเรซิน หรือสะพานฟันแบบแมรีแลนด์ (Maryland Bridge) คือสะพานฟันที่ผลิตจากพอร์ซเลนหลอมเข้ากับโลหะ นิยมใช้ในกรณีที่สูญเสียฟันหน้า

ซึ่งโดยทั่วไปมักจะพิจารณารักษาเป็นประเภทแบบสะพานฟันแบบธรรมดา ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับสภาพฟันของคนไข้และดุลยพินิจของทันตแพทย์

ข้อดีและข้อจำกัดของสะพานฟัน

การทำสะพานฟันเป็นวิธีแก้ไขปัญหาการสูญเสียฟันที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียเช่นเดียวกับการทำฟันปลอมชนิดอื่น ๆ ซึ่งทันตแพทย์จะเป็นผู้แนะนำและให้ข้อมูล เพื่อให้ผู้เข้ารับการรักษาชั่งน้ำหนักถึงประโยชน์และความเสี่ยงของการใส่สะพานฟัน ข้อดีและข้อเสียของสะพานฟัน มีดังนี้

การทำสะพานฟันเป็นหนึ่งในวิธีแก้ไขปัญหาการสูญเสียฟันที่มีทั้งข้อดีและข้อจำกัดเช่นเดียวกับการทำฟันปลอมชนิดอื่น ซึ่งทันตแพทย์จะเป็นผู้แนะนำและให้ข้อมูลแก่ผู้เข้ารับการรักษา เพื่อให้ชั่งน้ำหนักถึงประโยชน์และความเสี่ยงของการใส่สะพานฟัน โดยข้อดีและข้อเสีย มีดังนี้

ข้อดี

  1. ช่วยให้ฟันกลับมาดูเป็นปกติและมั่นใจยิ่งขึ้น
  2. ช่วยให้เคี้ยวอาหารและพูดคุยได้อย่างปกติ
  3. ป้องกันการเคลื่อนที่ของฟันในบริเวณข้างเคียง
  4. คงรูปหน้าไม่ให้เปลี่ยนไปเนื่องจากผลกระทบของการสูญเสียฟัน
  5. กระจายน้ำหนักในการกัดของฟัน ทำให้แรงกดของฟันแต่ละซี่เท่ากัน

ข้อจำกัด

  1. สะพานฟันมีราคาที่สูงกว่าฟันปลอมถอดได้ เนื่องจากมีขั้นตอนการทำที่ซับซ้อนกว่าและใช้วัสดุที่แข็งแรง
  2. การทำสะพานฟันจำเป็นจะต้องมีการกรอเนื้อฟันข้างเคียง ซึ่งต่างจากการทำรากฟันเทียมที่ไม่ต้องยุ่งกับฟันข้างเคียง
  3. ต้องเอาใจใส่ในการทำความสะอาดช่องปากและฟันที่มากขึ้น

สะพานฟันมีอายุการใช้งานเท่าไร ?

โดยทั่วไปแล้ว สะพานฟันจะมีอายุการใช้งานประมาณ 5-7 ปี ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา หากหมั่นทำความสะอาดช่องปากอย่างดีและไปพบทันตแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ ก็อาจช่วยยืดอายุการใช้งานของสะพานฟันให้ยาวนานมากกว่า 10 ปี

สะพานฟันดูแลอย่างไร ?

การดูแลสะพานฟันควรทำควบคู่ไปกับการรักษาสุขภาพช่องปาก เพราะปัญหาสุขภาพช่องปากที่เกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียงอาจสร้างความเสียหายให้แก่สะพานฟันได้ ซึ่งวิธีดูแลสุขภาพช่องปากทำได้ดังนี้

  • แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง และใช้ไหมขัดฟันหรืออุปกรณ์สำหรับทำความสะอาดซอกฟันเป็นประจำ เพื่อป้องกันการตกค้างของเศษอาหารที่อาจทำให้เกิดฟันผุ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและลดอาหารน้ำตาลสูง เพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ
  • พบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจสุขภาพฟัน

ขั้นตอนการใส่สะพานฟัน

เมื่อคนไข้ตัดสินใจเข้ารับการใส่สะพานฟันแล้ว แพทย์จะกรอชั้นผิวเคลือบฟันและเนื้อฟันของฟันซี่ข้างๆ ออกบางส่วน เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับครอบตัวฟันปลอมลงไป หลังจากนั้นจึงใส่สะพานฟันชั่วคราวเพื่อช่วยป้องกันฟันที่ถูกกรอเนื้อฟันออกและให้ผู้ป่วยเกิดความคุ้นเคยในระหว่างรอวัสดุจริง

เมื่อสะพานฟันชิ้นจริงถูกปรับแต่งจนพอดีกับช่องปากแล้ว ทันตแพทย์จะทำการยึดสะพานฟันด้วยกาวทางทันตกรรม ซึ่งในบางกรณีทันตแพทย์จะยึดด้วยกาวทางทันตกรรมแบบชั่วคราวเพื่อให้คนไข้ได้ลองใช้และปรับตัวก่อนประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นจะใช้วัสดุทางทันตกรรมประสานสะพานฟันเข้ากับฟันจริงอย่างถาวร ทั้งนี้ เพื่อผลดีต่อสุขภาพช่องปาก คนไข้ควรเข้ารับการตรวจตามการนัดของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

สอบถามหรือปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทางด้านทันตกรรมประดิษฐ์ ได้ที่ LINE: @theivorydental หรือโทร. 02-275-3599

คำถามที่พบบ่อย

 
    1. แบบโลหะล้วน (Full metal) ฟันจะมีสีแบบโลหะ ใช้กรณีที่พื้นที่ในการสบฟันซี่ตรงข้ามเหลือน้อยมาก
    2. แบบพอร์ซเลนผสมโลหะ (Porcelain fused to metal) จะมีฐานข้างใต้เป็นโลหะและเคลือบภายนอกด้วยพอร์ซเลนสีเหมือนฟัน
    3. แบบเซรามิคสีเหมือนฟันล้วน (All Ceramic) ชนิดนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากให้ทั้งความสวยงามและความแข็งแรง โดยไม่ทำให้ขอบเหงือกเกิดขอบเส้นสีดำเมื่อใช้ระยะยาวเหมือนกับชนิดอื่นๆ
    • การทำสะพานฟัน ในบางกรณีฟันอาจมีความรู้สึกไวกว่าปกติในช่วงระยะแรก คนไข้อาจมีอาการเสียวฟันเล็กน้อยในบริเวณนั้น หลังจากทำไปในช่วงระยะเวลาสั้นประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่ถ้านานกว่านั้นควรมาปรึกษาทันตแพทย์
    • สะพานฟันอาจหลุดได้ ในกรณีที่เนื้อฟันข้างใต้ผุ จนทำให้ไม่พอดี หรือกาวที่ยึดมีการเสื่อมหลังจากใช้ไปในระยะยาว ซึ่งสามารถมาพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไขได้

ฟันปลอมชนิดที่ติดแน่น คือใส่แล้วไม่ต้องถอดเข้าถอดออกเหมือนกับการทำฟันปลอมแบบถอดได้ สะพานฟันจะช่วยให้คุณยิ้มได้และรักษารูปหน้าไว้ และนี่ก็คือกรณีที่เหมาะในการทันตกรรมประเภทนี้

    1. ระยะช่วงที่ถอนฟันออกไปเป็นช่วงสั้น มีฟันหน้าและฟันหลังของช่วงฟันที่ถอนไป
    2. ฟันหน้าที่ถูกถอนไป และมีสภาพสันเหงือกที่ปกติ
    3. ในรายที่สูญเสียฟันหลัง และเว้นช่องมีฟันหน้าหายไปด้วย ถ้าทำฟันปลอมชนิดถอดได้โดยใช้ฟันซี่โดดเป็นหลัก ฟันโดดจะไม่แข็งแรงพอจะเป็นฟันหลักได้ แต่ถ้าทำสะพานฟันยึดติดฟันหน้า ฟันโดดและฟันหลัง จะได้ความแข็งแรงมากขึ้น